วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

: : อนาคตของฉัน : :


        อาชีพที่ฉันใฝ่ฝันในอนาคต คือ  

"นักบิน"




       นิยามอาชีพ "นักบิน"

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ผู้ขับเครื่องบิน ผู้ควบคุมการบิน ในระหว่างทำการบินรวมถึงการขับเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ไปรษณีย์ภัณฑ์หรือสินค้า การขับเครื่องบินเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่นทดสอบ ส่งมอบ ฉีดยาฆ่าแมลงหรือยาป้องกันแมลง สำรวจทางอากาศ ถ่ายภาพทางอากาศ และสอนนักบินฝึกหัดการควบคุมเส้นทางบินของการบิน การดูแลเครื่องบินระหว่างทำการบิน และให้คำแนะนำ นักบินอื่นๆ เกี่ยวกับการบินและเส้นทางการบิน


  


ข้อแตกต่างระหว่างนักบินและสจ๊วต

สจ๊วต หมายถึง ผู้พิทักษ์ความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารบนอากาศยาน โดยมีหน้าที่ต่างๆ เช่น คอยดูแลช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉินรับผิดชอบครวจเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่างๆ เช่น ถังออกซิเจน เครื่องดับเพลิง ไฟฉาย หน้ากากออกซิเจน และเสื้อชูชีพ สำหรับสาธิตให้ผู้โดยสาร ฯลฯ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามรายการ และอยู่ในสภาพใช้การได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้โดยสาร เช่น การเตรียมอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม การให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้โดยสาร ที่เกิดเจ็บป่วย การจัดหาที่นั่งให้กับผู้โดยสาร ตรวจดูให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดก่อนเครื่องบินขึ้นหรือลง แจกหนังสือพิมพ์ นิตยสารให้ผู้โดยสารอ่าน และดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อย ในห้องผู้โดยสาร และห้องน้ำ รวมทั้งให้บริการด้านอื่นๆ ที่จะอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้โดยสาร 

นักบิน หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานนักบิน-Pilot-Aircraft ได้แก่ผู้ขับเครื่องบิน ผู้ควบคุมการบิน ในระหว่างทำการบินรวมถึงการขับเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ไปรษณีย์ภัณฑ์หรือสินค้า การขับเครื่องบินเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่นทดสอบ ส่งมอบ ฉีดยาฆ่าแมลงหรือยาป้องกันแมลง สำรวจทางอากาศ ถ่ายภาพทางอากาศ และสอนนักบินฝึกหัดการควบคุมเส้นทางบินของการบิน การดูแลเครื่องบินระหว่างทำการบิน และให้คำแนะนำ นักบินอื่นๆ เกี่ยวกับการบินและเส้นทางการบิน

      



โอกาสในการทำงาน

อาชีพนักบินสามารถรับราชการเป็นนักบินของหน่วยราชการต่างๆ เช่น กองบินสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ สำนักฝนหลวง และการบินเกษตร หรือสายการบินเอกชนต่างๆ เช่น บริษัทการบินไทย บริษัทบางกอกแอร์เวย์ ซึ่งยังมีความต้องการพนักงานในตำแหน่งนี้ยังมีมากแต่การคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสม รวมทั้งการสอน และอบรมในการบินสามารถรับได้ครั้งไม่มากจึงจัดว่าเป็นอาชีพที่ขาดแคลน
สถาบันที่จะฝึกนักบินในประเทศไทยนั้นมีจำนวนน้อยมาก และส่วนใหญ่จะฝึกให้หน่วยงานราชการ เพื่อใช้ในหน่วยงานของตนเอง แต่ถ้าหน่วยงานใดองค์การใดที่ต้องการนักบิน และไม่สามารถที่จะฝึกอบรมด้วยตนเองได้ก็จะส่งบุคคลในหน่วยงานของตนนั้นมาทำการฝึกอบรมการบินที่โรงเรียนการบินต่างๆในประเทศไทย ฉะนั้นผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ส่วนใหญ่จึงกลับเข้าทำงานในหน่วยงานเดิมของตนที่ส่งมาฝึกอบรม แต่ถ้าเป็นศิษย์การบินที่เรียนโดยทุนส่วนตัว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็จะทำงานเป็นนักบินในบริษัทสายการบินต่างๆ ซึ่งจะได้รับเงินเดือนสูงมากผู้ที่ประกอบอาชีพนักบินมักจะเป็นชาย ในปัจจุบันประเทศไทยมีนักบินอาชีพที่เป็น ผู้หญิงทำงานในบริษัท บางกอกแอร์เวย์ แอร์เอเชียและบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย แต่สำหรับบริษัทการบินไทย ยังไม่มีนักบินอาชีพที่เป็นผู้หญิง
ผู้ที่ประกอบอาชีพนักบินสามารถเข้าสมัครงานในภาคราชการหรือภาคเอกชนที่ประกาศรับสมัครโดยต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ และเมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วจะต้องเข้ารับการอบรมการบินตามโรงเรียนการบินในประเทศไทย ตามที่หน่วยงานของตนจะกำหนด โดยเมื่อจบการอบรมก็จะได้รับบรรจุเข้าเป็นนักบินประจำหน่วยงานนั้น
ยกเว้นนักบินของกองทัพอากาศ ซึ่งจะต้องเรียนโรงเรียนนายเรืออากาศและสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนการบินของกองทัพอากาศซึ่งจะมีหลักสูตรการบินที่เกี่ยวกับการทหารไม่ใช่การบินเชิงพาณิชย์สำหรับนักบินทั่วไป เมื่อจบหลักสูตรจึงจะได้บรรจุเป็นทหารสัญญาบัตรเหล่านักบิน และได้รับการบรรจุเข้าประจำฝูงบินต่างๆ หรือบรรจุเข้ารับราชการตามกรมกองต่างๆ

                 

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

เป้าหมายสูงสุดในอาชีพนักบิน คือ โอกาสความก้าวหน้าในตำแหน่งกัปตันซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดและจะมักเป็นที่ต้องการของสายการบินอื่นๆ เนื่องจากมีประสบการณ์ในการบินมามาก อาชีพนักบินจะเริ่มต้นการทำงานเป็นนักบินที่ 3 หรือต้นหน System Operator ( สำหรับเครื่องบินขนาดเล็ก 737 / 747 ซึ่งปัจจุบันเครื่องบินรุ่นใหม่ไม่ใช้นักบินที่ 3 หรือต้นหน) และใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ 4 ปีจึงจะได้เป็นนักบินที่ 2 หรือ Co-pilot และนักบินที่ 2 ต้องมีความชำนาญประมาณ 8 ปี จึงเป็นกัปตันหรือนักบินที่ 1 ได้
ทั้งนี้ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง และผ่านการตรวจร่างกาย และทดสอบทางจิตเวชทุกปี และสำหรับนักบินที่มีประสบการณ์ และได้รับการอบรมจนเชี่ยวชาญ และมีความสามารถในการสอน ก็สามารถเป็นผู้สอนนักบินฝึกหัด หรือนักบินที่มีความสามารถในการบริหารงานสามารถที่จะเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้บริหารในหน่วยงานหรือองค์กรนั้นได้
ผู้ประกอบอาชีพ "นักบิน" จะมีโอกาสก้าวหน้าอย่างยิ่งในด้านเงินเดือนที่ได้รับเพิ่ม โดยเฉพาะความสามารถ และความชำนาญในการบินจะเป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าของนักบินนั้นๆ ผู้เป็นนักบินในหน่วยงานของทางราชการ หรือองค์การต่างๆ นอกจากจะได้รับเงินเดือนตามปกติแล้วยังได้รับเงินพิเศษจากการบินด้วย
ในด้านการศึกษา อาจไปศึกษาและฝึกอบรมเพิ่มเติมในต่างประเทศได้ เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้น เช่นการบินกับเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ เป็นต้น
นอกจากนี้นักบินยังมีโอกาสได้ท่องเที่ยวไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และนับว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติอาชีพหนึ่งของสังคม

       


อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง

นักบินกองทัพ นักบินสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นักบินสายการบินต่างประเทศ

File:Aerosvit Boeing-737-400 UR-VVP pilot cabin.jpg      


      เหตุผลที่ฉันอยากทำอาชีพนี้

        สำหรับฉันนักบินเป็นอาชีพที่ดูน่าตื่นเต้นและเหมือนกับการต่อสู้ไปกับตนเอง แม้ว่าเส้นทางในการบินแต่ละครั้งอาจจะซ้ำกับเที่ยวบินที่ผ่านๆมา แต่สภาพอากาศในแต่ละวัน ไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน การต่อสู้กับสภาพลม ฟ้า ฝน ที่ไม่มีความแน่นอน ถือว่าเป็นการผจญภัยอย่างหนึ่ง แม้ว่าการตัดสินใจในแต่ละครั้งจะมีผลต่อชีวิตของผู้โดยสารอีกมากมาย และการบินบนฟ้าหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะมีอันตรายและความเสี่ยงที่สูงมาก แต่ฉันคิดว่าหากเรามีความรอบคอบและมีสติก็จะสามารถผ่านพ้นไปได้อย่างดี นักบินเป็นอาชีพหนึ่งซึ่งผู้คนสนใจกันมากและฉันก็เป็นเด็กต่างจังหวัดซึ่งต้องอาศัยเครื่องบินเป็นยานพาหนะอยู่แล้ว จึงมีแรงบันดาลใจและความอยากที่จะทำในอาชีพนี้เป็นอย่างมาก


ที่มา : http://www.rccm-flying.com